วิธีรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว " />

Earthquake Safety

::: UPDATE : 2018-06-19 04:18:36




ด้วยความที่บ้านเราไม่ค่อยเกิดเหตการณ์แผ่นดินไหวเหมือนกับประเทศญี่ปุ่นมากนัก อีกทั้งไม่ค่อยจะรู้จักวิธีการรับมือหรือแก้ไขสถานการณ์เหมือนกับคนญี่ปุ่นที่เจอบ่อยๆ แต่เมื่อต้องมาเจอกับแผ่นดินไหวจริงๆอาจจะตกใจและทำอะไรไม่ถูก ดังนั้นก่อนจะไปเที่ยวญี่ปุ่นก็ควรศึกษาหรือมีความรู้กับวิธีการรับมือกับแผ่นดินไหวเอาไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและเพื่อแก้ปัญาหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งช่วงการเกิดแผ่นดินไหวและข้อควรปฎิบัติมีหลักคร่าวๆดังนี้


1. ก่อนเกิดแผนดินไหว

คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีการเตรียมความพร้อมและมีวิธีรับมือกับเหตุการณืแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง จึงเตรียมอุปกรณ์และกระเป๋าที่มีของใช้ในยามฉุกเฉินเอาไว้ในที่ๆ หยิบจับง่าย ซึ่งในกระเป๋านี้จะมีของใช้จำเป็นต่างๆ อย่าง ไฟฉาย ไฟแช็ก โทรศัพท์มือถือ เครื่องวิทยุ อาหารกระป๋อง น้ำดื่ม ยาสามัญประจำบ้าน ฯลฯ

แต่ถ้าสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างๆเราๆ อาจจะไม่มีเวลาเตรียมพร้อมได้ขนาดนั้น อย่างน้อยๆ ก็ควรพกพาสปอร์ตและถ่ายสำเนาพาสปอร์ตไว้ เผื่อในกรณีฉบับจริงสูญหาย โทรศัพท์มือถือพร้อมด้วยพาวเวอร์เเบงค์ เพื่อจะได้ไม่ขาดการติดต่อ และใครที่มีโรคประจำตัวก็เตรียมยาเอาไว้ให้พร้อมในที่เดียวกัน เผื่อมีเหตุฉุกเฉินจะได้หยิบได้ง่าย

 

2. ขณะเกิดแผ่นดินไหว 

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวสิ่งแรกที่ควรทำคือการตั้งสติให้ดีและหาที่กำบังที่แข็งแรง
-ถ้าอยู่ในตัวบ้าน ให้หลบอยู่ใต้โต๊ะเพื่อปกป้องคุณจากสิ่งของที่มักตกลงมาเวลาแผ่นดินไหว แต่ถ้าไม่สามารถหาที่กำบังได้ ให้หาวัสดุแข็งๆ หรือเอามือปิดหัวไว้ หรือเดินไปอยู่มุมที่มั่นใจว่าจะไม่มีของหล่นลงมา ไม่วิ่งเข้าๆ ออกๆ เพราะอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ และถ้าเปิดแก๊สหรือฮีตเตอร์ไว้แล้วสามารถเอื้อมมือไปปิดได้ ควรปิดทันที เพราะแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวอาจทำให้ท่อเเก๊สเกิดรั่วซึม และเกิดเพลิงไหม้ตามมาได้ แต่ถ้าไม่สามารถปิดได้ทันที หลังจากที่แผ่นดินหยุดไหว พอตั้งตัวได้ ต้องรีบปิดแก๊สทันที

-ถ้าอยู่ในอาคาร ให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของอาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่างเข้าไว้ และถ้าอยู่ในอาคารสูง ควรรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับ เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ

-ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากกำแพง เสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือ ที่โล่งแจ้ง
ซึ่งจากสถิติแล้วการบาดเจ็บส่วนใหญ่ของแผ่นดินไหวไม่ใช่ตึกถล่ม แต่เป็นการบาดเจ็บเพราะของตกลงมาโดนร่างกาย และเกิดเพลิงไหม้นั่นเอง






3. หลังเกิดแผ่นดินไหว
ถ้ามีเหตุเพลิงไหม้ควรรีบออกจากพื้นที่ไปยังสถานที่ปลอดภัยทันที และระมัดระวังสิ่งของร่วงหล่นใส่ ถ้าไม่มีเหตุเพลิงไหม้ ควรเปิดวิทยุหรือทีวีเพื่อรับฟังข่าวสาร สถานการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งถ้ามีการอพยพ ให้เตรียม...
-ของใช้ที่จำเป็น อุปกรณ์ และเอกสารส่วนตัวที่สำคัญได้แก่ สมุดบัญชีธนาคาร หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวคนต่างชาติหรือไซริวการ์ด เงินสด
-
แต่งตัวให้รัดกุมและเหมาะกับสภาพอากาศ ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ 
จากนั้นรีบเดินทางไปที่ศูนย์หลบภัยชั่วคราว ส่วนใหญ่จะเป็นลานโล่งกลางแจ้งที่ปลอดภัยจากอาคารถล่ม ส่วนคนที่อยู่แถวชายฝั่ง ใกล้ทะเลควรติดตามข่าวสาร ข่าวเตือนซึนามิเป็นกรณีพิเศษอีกด้วยค่ะ






คู่มือการรับมือแผ่นดินไหวฉบับย่อจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว 
http://www.thaiembassy.jp/rte3/consulardoc/thaiearthquake.pdf





ข้อมูลและรูปภาพ
http://www.thaiembassy.jp

www.tokyo-icc.jp
http://www.tfd.metro.tokyo.jp